ตัวเก็บประจุเป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่มีหลักการทำงานคือ เก็บประจุ ซึ่งมีคุณสมบัติในการรับประจุหรือที่เรียกว่า ชาร์จ(Charge) เมื่อแรงดันภายนอกสูงกว่าแรงดันที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุ และจะคายประจุหรือที่เรียกว่า ดิสชาร์จ (Discharge) เมื่อแรงดันตกคร่อมตัวเก็บประจุสูงกว่าแรงดันภายนอก ซึ่งตัวเก็บประจุมีหลายชนิด มีแบบไม่มีขั้วและไม่มีขั้ว ยิ่งตัวเก็บมีค่าสูงๆช่วงเวลาเก็บและคายประจุก็จะยาวนานขึ้น ตัวเก็บประจุมีหน่วยเป็น ฟารัด ใช้อักษรย่อ F
โครงสร้างของตัวเก็บประจุ ประกอบด้วยแผ่นตัวนำหรือเรียกว่าแผ่น Plate สองแผ่นวางขนานกัน ซึ่งระหว่างแผ่นสองแผ่นนี้จะมีฉนวนไฟฟ้าไดอิเล็คตริก คั่นอยู่ ฉนวนพวกนี้จะไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านแต่จะมีประจุสะสมตรงแผ่นที่กั้นด้วยฉนวน
LDR คืออะไร
เขียนโดย
kinggo
ที่
20:23
|
LDR คือ ตัวต้านทานชนิดหนึ่งหรือเรียกอีกอย่างว่าตัวต้านทานแปลค่าตามแสง
หลักการทำงานของ LDR คือ เมื่อถูกแสงตัว LDR จะมีความต้านทานลดลงและเมื่อไม่ถูกแสงตัว LDR จะมีความต้านทานมากขึ้น
LDR ย่อมาจาก Light Dependet Resistor แต่ในวงการอิเล็คทรอนิกส์จะเรียกอุปกรณ์ตัวนี้สั้นๆง่ายๆว่า LDR
องค์ประกอบของ LDR จะประกอบด้วย สารกึ่งตัวนำ เช่น แคดเมียมซัลไฟด์และแคดเมียมซิลิไนด์ ซึ่งเป็นสารที่มีการตอบสนองความยาวคลื่นแสง ฉาบอยู่เป็นเส้นลักษณะเป็นขดๆ คดเคี้ยวไปมาเป็นฐานเซรามิก LDR จะมีสองขั้ว ซึ่งมีค่าความต้านทานภายในตัว เปลี่ยนแปลงค่าได้ตามแสงที่ตกลงมากระทบ
หลักการทำงานของ LDR คือ เมื่อถูกแสงตัว LDR จะมีความต้านทานลดลงและเมื่อไม่ถูกแสงตัว LDR จะมีความต้านทานมากขึ้น
LDR ย่อมาจาก Light Dependet Resistor แต่ในวงการอิเล็คทรอนิกส์จะเรียกอุปกรณ์ตัวนี้สั้นๆง่ายๆว่า LDR
องค์ประกอบของ LDR จะประกอบด้วย สารกึ่งตัวนำ เช่น แคดเมียมซัลไฟด์และแคดเมียมซิลิไนด์ ซึ่งเป็นสารที่มีการตอบสนองความยาวคลื่นแสง ฉาบอยู่เป็นเส้นลักษณะเป็นขดๆ คดเคี้ยวไปมาเป็นฐานเซรามิก LDR จะมีสองขั้ว ซึ่งมีค่าความต้านทานภายในตัว เปลี่ยนแปลงค่าได้ตามแสงที่ตกลงมากระทบ
ตัวต้านทานทำงานอย่างไร?
ตัวต้านทานนั้นมีหน้าที่ในการจำกัดกระแสที่ไหลในวงจร ไม่ให้มีมากเกินไป หรือเพื่อป้องกันอุปกรณ์เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจากกระแสหรือแรงดันที่มีมากเกินไปนั้นเอง ตัวต้านทานมีหลายชนิด เช่น ตัวต้านทานแบบคงที่ ตัวต้านทาน แบบปรับค่าได้และตัวต้านทานแบบเลือกค่าได้ ซึ่งตัวต้านทานที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ ซึ่งตัวต้านทานนั้นจะมีค่าเป็นโอห์ม ซึ่งมาจากชื่อของ ยอร์จ ซีมอน โอห์ม ซึ่งเขาเป็นผู้คิดค้นกฏของโอห์มขึ้นมาในวงจรอิเล็คทรอนิกส์ จะแทนด้วยอักษรกรีกโบราณคือ โอเมก้า ตัวต้านทานทำจากผงคาร์บอน หรือผงถ่านที่นำไฟฟ้าได้ มาอัดรวมกับซิลิก้าและสารผสมทำหน้าที่ยึดคล้ายกาวและมีขาตัวนำเชื่อมที่ปลายทั้งสองข้าง ถ้าต้องการให้ตัวต้านทานนำไฟฟ้ามากๆก็ให้ผสมผงถ่านเยอะๆ ถ้าต้องการให้ความต้านทานนำไฟฟ้าน้อยๆก็ผสมผงถ่านน้อยๆ ตัวต้านทานมีมากมายหลายค่าหลายขนาดอยู่ที่การเลือกใช้ มีอัตตราการทนกำลังและขนาดที่แตกต่างกัน บางตัวก็พิมพ์ค่าลงบนตัวถังเลยและบางตัวก็จะบอกค่ามาเป็นแถบสี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)