ตัวเก็บประจุเป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่มีหลักการทำงานคือ เก็บประจุ ซึ่งมีคุณสมบัติในการรับประจุหรือที่เรียกว่า ชาร์จ(Charge) เมื่อแรงดันภายนอกสูงกว่าแรงดันที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุ และจะคายประจุหรือที่เรียกว่า ดิสชาร์จ (Discharge) เมื่อแรงดันตกคร่อมตัวเก็บประจุสูงกว่าแรงดันภายนอก ซึ่งตัวเก็บประจุมีหลายชนิด มีแบบไม่มีขั้วและไม่มีขั้ว ยิ่งตัวเก็บมีค่าสูงๆช่วงเวลาเก็บและคายประจุก็จะยาวนานขึ้น ตัวเก็บประจุมีหน่วยเป็น ฟารัด ใช้อักษรย่อ F
โครงสร้างของตัวเก็บประจุ ประกอบด้วยแผ่นตัวนำหรือเรียกว่าแผ่น Plate สองแผ่นวางขนานกัน ซึ่งระหว่างแผ่นสองแผ่นนี้จะมีฉนวนไฟฟ้าไดอิเล็คตริก คั่นอยู่ ฉนวนพวกนี้จะไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านแต่จะมีประจุสะสมตรงแผ่นที่กั้นด้วยฉนวน
LDR คืออะไร
เขียนโดย
kinggo
ที่
20:23
|
LDR คือ ตัวต้านทานชนิดหนึ่งหรือเรียกอีกอย่างว่าตัวต้านทานแปลค่าตามแสง
หลักการทำงานของ LDR คือ เมื่อถูกแสงตัว LDR จะมีความต้านทานลดลงและเมื่อไม่ถูกแสงตัว LDR จะมีความต้านทานมากขึ้น
LDR ย่อมาจาก Light Dependet Resistor แต่ในวงการอิเล็คทรอนิกส์จะเรียกอุปกรณ์ตัวนี้สั้นๆง่ายๆว่า LDR
องค์ประกอบของ LDR จะประกอบด้วย สารกึ่งตัวนำ เช่น แคดเมียมซัลไฟด์และแคดเมียมซิลิไนด์ ซึ่งเป็นสารที่มีการตอบสนองความยาวคลื่นแสง ฉาบอยู่เป็นเส้นลักษณะเป็นขดๆ คดเคี้ยวไปมาเป็นฐานเซรามิก LDR จะมีสองขั้ว ซึ่งมีค่าความต้านทานภายในตัว เปลี่ยนแปลงค่าได้ตามแสงที่ตกลงมากระทบ
หลักการทำงานของ LDR คือ เมื่อถูกแสงตัว LDR จะมีความต้านทานลดลงและเมื่อไม่ถูกแสงตัว LDR จะมีความต้านทานมากขึ้น
LDR ย่อมาจาก Light Dependet Resistor แต่ในวงการอิเล็คทรอนิกส์จะเรียกอุปกรณ์ตัวนี้สั้นๆง่ายๆว่า LDR
องค์ประกอบของ LDR จะประกอบด้วย สารกึ่งตัวนำ เช่น แคดเมียมซัลไฟด์และแคดเมียมซิลิไนด์ ซึ่งเป็นสารที่มีการตอบสนองความยาวคลื่นแสง ฉาบอยู่เป็นเส้นลักษณะเป็นขดๆ คดเคี้ยวไปมาเป็นฐานเซรามิก LDR จะมีสองขั้ว ซึ่งมีค่าความต้านทานภายในตัว เปลี่ยนแปลงค่าได้ตามแสงที่ตกลงมากระทบ
ตัวต้านทานทำงานอย่างไร?
ตัวต้านทานนั้นมีหน้าที่ในการจำกัดกระแสที่ไหลในวงจร ไม่ให้มีมากเกินไป หรือเพื่อป้องกันอุปกรณ์เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจากกระแสหรือแรงดันที่มีมากเกินไปนั้นเอง ตัวต้านทานมีหลายชนิด เช่น ตัวต้านทานแบบคงที่ ตัวต้านทาน แบบปรับค่าได้และตัวต้านทานแบบเลือกค่าได้ ซึ่งตัวต้านทานที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ ซึ่งตัวต้านทานนั้นจะมีค่าเป็นโอห์ม ซึ่งมาจากชื่อของ ยอร์จ ซีมอน โอห์ม ซึ่งเขาเป็นผู้คิดค้นกฏของโอห์มขึ้นมาในวงจรอิเล็คทรอนิกส์ จะแทนด้วยอักษรกรีกโบราณคือ โอเมก้า ตัวต้านทานทำจากผงคาร์บอน หรือผงถ่านที่นำไฟฟ้าได้ มาอัดรวมกับซิลิก้าและสารผสมทำหน้าที่ยึดคล้ายกาวและมีขาตัวนำเชื่อมที่ปลายทั้งสองข้าง ถ้าต้องการให้ตัวต้านทานนำไฟฟ้ามากๆก็ให้ผสมผงถ่านเยอะๆ ถ้าต้องการให้ความต้านทานนำไฟฟ้าน้อยๆก็ผสมผงถ่านน้อยๆ ตัวต้านทานมีมากมายหลายค่าหลายขนาดอยู่ที่การเลือกใช้ มีอัตตราการทนกำลังและขนาดที่แตกต่างกัน บางตัวก็พิมพ์ค่าลงบนตัวถังเลยและบางตัวก็จะบอกค่ามาเป็นแถบสี
วงจรจูน
วงจรจูนที่ประกอบด้วยตัวเก็บประจุและตัวเหนี่ยวนำมาต่อขนานกัน เมื่อตัวเก็บประจุได้รับการชาร์จประจุเต็มแล้วและเมื่อต่อเข้ากับตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าก็จำทำให้ประจุไฟฟ้าในวงจรเกิดการเคลื่อนที่ไปมา การปรับค่า C,L ในวงจรนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ของวงจร การรับส่งสัญญาณได้ดีนั้น จะต้องปรับความถี่ของวงจรจูนของเครื่องรับและวงจรจูนของเครื่องส่งให้เท่ากัน ซึ่งมีสมการดังนี้
การสื่อสารทางสาย
การสื่อสารโทรคมนาคมของมนุษย์นั้นเป็นการสื่อสารซึ่งทำได้ทั้งแบบทางภาพ เสียง รวมทั้งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยตัวกลางในการสื่อสารเพื่อทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อติดต่อสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งสายส่งสัญญาณนั้นก็เป็นตัวเชื่อมต่อสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น สายไฟ สายลำโพง สายไมโครโฟน เป็นต้น ซึ่งสายส่งสัญญาณมีอยู่หลายแบบและมีความแตกต่างกันในการใช้งาน
1.สายเดี่ยว(Single Line) เป็นสายเชื่อมต่อเส้นเดียว มักใช้งานในย่านความถี่ต่ำเพื่อเชื่อมต่อระหว่างเครื่องส่งและเครื่อรับ
2.สายตีเกลียว(Twist Pair Line) เป็นสายสองเส้นตีเกลียวกันอยู่ สายส่งสัญญาณชนิดนี้ใช้งายในย่านความถี่ต่ำ
3.สายสองเส้นคู่ขนาน(Parallel Two-Wire Line) เป็นสายสองเส้นวางขนานกันอยู่ ใช้งานได้ดีกับย่านความถี่ต่ำ
4.สายโคแอกเชียล(Coaxial Line) เป้นสายส่งสัญญาณที่มีเส้นลวดตัวนำหนึ่งเส้นอยู่ตรงกลางหุ้มด้วยฉนวนมีลวดชิลด์หุ้มฉนวนและมีฉนวนชิลด์หุ้มอีกต่อหนึ่ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกไปภายนอกและป้องกันการลบกวนของสัญญาณไฟฟ้าจากภายนอก ใช้งานในย่านความถี่ VHFและUHF
5.สายคู่มีกำบัง(Shield Pair Line) มีโครงสร้างเหมือนกับสายโคแอกเชียลแต่จะมีเส้นลวดตัวนำอยู่ภายในสองเส้น มักใช้งานในย่านความถี่สูง
6.สายแบบสองท่อน(Strip Line) เป็นสายที่มีสายตัวนำสองตัวว่อนกันอยู่เป็นสองท่อนสี่เหลี่ยมมีฉนวนหุ้มระหว่างกัน ตรงกลางจะมีลวดตัวนำเส้นเดี่ยวที่มีฉนวนหุ้มและหุ้มด้วยตัวนำซ้อนอีกชั้นหนึ่ง มักนำมาใช้งานในย่านความถี่สูงๆ
7.เวฟไกด์(Wave Guide) มักนำมาใช้งานในย่านความถี่ไมโครเวฟ เป็นสายส่งสัญยาณแบบท่อนำคลื่นเคลือบด้วยวัสดุนำไฟฟ้า
1.สายเดี่ยว(Single Line) เป็นสายเชื่อมต่อเส้นเดียว มักใช้งานในย่านความถี่ต่ำเพื่อเชื่อมต่อระหว่างเครื่องส่งและเครื่อรับ
2.สายตีเกลียว(Twist Pair Line) เป็นสายสองเส้นตีเกลียวกันอยู่ สายส่งสัญญาณชนิดนี้ใช้งายในย่านความถี่ต่ำ
3.สายสองเส้นคู่ขนาน(Parallel Two-Wire Line) เป็นสายสองเส้นวางขนานกันอยู่ ใช้งานได้ดีกับย่านความถี่ต่ำ
4.สายโคแอกเชียล(Coaxial Line) เป้นสายส่งสัญญาณที่มีเส้นลวดตัวนำหนึ่งเส้นอยู่ตรงกลางหุ้มด้วยฉนวนมีลวดชิลด์หุ้มฉนวนและมีฉนวนชิลด์หุ้มอีกต่อหนึ่ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกไปภายนอกและป้องกันการลบกวนของสัญญาณไฟฟ้าจากภายนอก ใช้งานในย่านความถี่ VHFและUHF
5.สายคู่มีกำบัง(Shield Pair Line) มีโครงสร้างเหมือนกับสายโคแอกเชียลแต่จะมีเส้นลวดตัวนำอยู่ภายในสองเส้น มักใช้งานในย่านความถี่สูง
6.สายแบบสองท่อน(Strip Line) เป็นสายที่มีสายตัวนำสองตัวว่อนกันอยู่เป็นสองท่อนสี่เหลี่ยมมีฉนวนหุ้มระหว่างกัน ตรงกลางจะมีลวดตัวนำเส้นเดี่ยวที่มีฉนวนหุ้มและหุ้มด้วยตัวนำซ้อนอีกชั้นหนึ่ง มักนำมาใช้งานในย่านความถี่สูงๆ
7.เวฟไกด์(Wave Guide) มักนำมาใช้งานในย่านความถี่ไมโครเวฟ เป็นสายส่งสัญยาณแบบท่อนำคลื่นเคลือบด้วยวัสดุนำไฟฟ้า
ประเภทของสัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสาร
ระบบการสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.ระบบสื่อสารแบบอนาลอก การสื่อสารทางอนาลอกจะมีระดับสัญญาณหรื่อแอมพลิจูดเปลี่ยนแปลงตามระดับความดังของเสียง อีกทั้งมีความถี่เปลี่ยนแปลงตามเสียงแหลมทุ้มที่เข้ามาอีกด้วย การสื่อสารที่ใช้ระบบนี้ยกตัวอย่างเช่น การกระจายเสียงวิทยุ AM FM ที่เราได้ยินได้ฟังกันในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังการสื่อสารทางโทรศัพท์และการสื่อสารทางวิทยุโทรทัศน์ก็เป็นการสื่อสารแบบอนาลอกด้วย ซึ่งการสื่อสารแบบอนาลอกนั้นจะใช้แบบ Broad Band
2.การสื่อสารแบบดิจิตอล การสื่อสารชนิดนี้จะส่งข้อมูลเป็นดิจิตอล ซึ่งมีความแรงสัญญาณสองระดับคือ "0" และ "1" โดยมีความถี่คงที่ค่าหนึ่งตลอดเวลา ตัวอย่างการสื่อสารที่ใช้ระบบแบบดิจิตอล ยกตัวอย่างเช่น ระบบมือถ์อแบบดิจิตอล การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารแบบดิจิตอลนั้นจะใช้แบบ Base Band
1.ระบบสื่อสารแบบอนาลอก การสื่อสารทางอนาลอกจะมีระดับสัญญาณหรื่อแอมพลิจูดเปลี่ยนแปลงตามระดับความดังของเสียง อีกทั้งมีความถี่เปลี่ยนแปลงตามเสียงแหลมทุ้มที่เข้ามาอีกด้วย การสื่อสารที่ใช้ระบบนี้ยกตัวอย่างเช่น การกระจายเสียงวิทยุ AM FM ที่เราได้ยินได้ฟังกันในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังการสื่อสารทางโทรศัพท์และการสื่อสารทางวิทยุโทรทัศน์ก็เป็นการสื่อสารแบบอนาลอกด้วย ซึ่งการสื่อสารแบบอนาลอกนั้นจะใช้แบบ Broad Band
2.การสื่อสารแบบดิจิตอล การสื่อสารชนิดนี้จะส่งข้อมูลเป็นดิจิตอล ซึ่งมีความแรงสัญญาณสองระดับคือ "0" และ "1" โดยมีความถี่คงที่ค่าหนึ่งตลอดเวลา ตัวอย่างการสื่อสารที่ใช้ระบบแบบดิจิตอล ยกตัวอย่างเช่น ระบบมือถ์อแบบดิจิตอล การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารแบบดิจิตอลนั้นจะใช้แบบ Base Band
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสาร
เขียนโดย
kinggo
ที่
04:50
|
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารมีดังนี้
1.ผู้ส่ง(Sender) เป็นแหล่งกำเนิดข้อมูลข่าวสาร เช่น สัญญาณภาพ สัญญาณเสียง เป็นต้น ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆไปยังผู้รับ
2.การเข้ารหัส(Encoding) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลข่าวสารที่เข้ามาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วส่งไปยังผู้รับปลายทาง แต่ต้องผ่านการแปลงกลับเป็นข้อมูลข่าวสารก่อน
3.ช่องทางการสื่อสาร(Communication Channel) เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อการสื่อสาร
4.การถอดรหัส(Decoding) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าเป็นข้อมูลข่าวสารซึ่งได้จากการเข้ารหัสส่งมา
5.สัญญาณรบกวน(Noise) เป็นสัญญาณที่มีในธรรมชาติ มาเพื่อก่อกวนและลดทอนสัญญาณที่เราส่งไป ทำให้เกิดการผิดเพี้ยน
6.ผู้รับข่าวสาร(Receiver) รับข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่ง ซึ่งตัวผุ้รับข่าวสารและจะต้องเข้าใจตรงกันกับผู้ส่งข่าวสารด้วย
1.ผู้ส่ง(Sender) เป็นแหล่งกำเนิดข้อมูลข่าวสาร เช่น สัญญาณภาพ สัญญาณเสียง เป็นต้น ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆไปยังผู้รับ
2.การเข้ารหัส(Encoding) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลข่าวสารที่เข้ามาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วส่งไปยังผู้รับปลายทาง แต่ต้องผ่านการแปลงกลับเป็นข้อมูลข่าวสารก่อน
3.ช่องทางการสื่อสาร(Communication Channel) เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อการสื่อสาร
4.การถอดรหัส(Decoding) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าเป็นข้อมูลข่าวสารซึ่งได้จากการเข้ารหัสส่งมา
5.สัญญาณรบกวน(Noise) เป็นสัญญาณที่มีในธรรมชาติ มาเพื่อก่อกวนและลดทอนสัญญาณที่เราส่งไป ทำให้เกิดการผิดเพี้ยน
6.ผู้รับข่าวสาร(Receiver) รับข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่ง ซึ่งตัวผุ้รับข่าวสารและจะต้องเข้าใจตรงกันกับผู้ส่งข่าวสารด้วย
ชนิดของการสื่อสาร
เขียนโดย
kinggo
ที่
04:27
|
ชนิดของการสื่อสาร
ระบบของการสื่อสารนั้นประกอบไปด้วย ผู้ส่งสาร ตัวเชื่อมต่อ เครื่องส่ง เครื่องรับและผู้รับสาร
การสื่อสารแบ่งออกตามรูปแบบของการเชื่อมต่อได้ดังนี้
1.การสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless)
การสื่อสารแบบไร้สาย จะอาศัยตัวกลางที่ไม่ใช้สายในการติดต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ มีความสะดวกสะบาย มีความประหยัดเพราะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเดินสายและไม่มีความยุ่งยากอีกด้วย
2.การสื่อสารทางสาย(Wired)
กอารสื่อสารทางสาย จะอาศัยตัวกลางที่มีลักษณะเป็นสายเชื่อมต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อการสื่อสารคมนาคมที่เรารู้จักกันเห็นๆเลย เครื่อข่ายโทรศัพท์และโทรเลข เป็นต้น
เราสามารถแบ่งระบบสื่อสารได้ 3 ประเภท
-การสื่อสารทางเดียว(Simplex System) การสื่อสารนี้เป็นการสื่อสารแบบทิศทางเดียว คือ ส่งได้ทิศทางเดียว ยกตัวอย่างเช่น การส่งเสียงตามสาย
-การสื่อสารสองทางเต็มรูปแบบ(Full Duplex System)หรือการสื่อสารสองทาง ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารพร้อมกันได้พร้อมๆกัน โต้ตอบกันได้ เช่น ระบบโทรศัพท์
-การสื่อสารสองทางครึ่งรูปแบบ(Half Duplex System) ปลายทางแต่ละด้านสามารถสื่อสารกันได้แต่ต้องสัลบกัน เช่น วิทยุสมัครเล่น
ระบบของการสื่อสารนั้นประกอบไปด้วย ผู้ส่งสาร ตัวเชื่อมต่อ เครื่องส่ง เครื่องรับและผู้รับสาร
การสื่อสารแบ่งออกตามรูปแบบของการเชื่อมต่อได้ดังนี้
1.การสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless)
การสื่อสารแบบไร้สาย จะอาศัยตัวกลางที่ไม่ใช้สายในการติดต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ มีความสะดวกสะบาย มีความประหยัดเพราะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเดินสายและไม่มีความยุ่งยากอีกด้วย
2.การสื่อสารทางสาย(Wired)
กอารสื่อสารทางสาย จะอาศัยตัวกลางที่มีลักษณะเป็นสายเชื่อมต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อการสื่อสารคมนาคมที่เรารู้จักกันเห็นๆเลย เครื่อข่ายโทรศัพท์และโทรเลข เป็นต้น
เราสามารถแบ่งระบบสื่อสารได้ 3 ประเภท
-การสื่อสารทางเดียว(Simplex System) การสื่อสารนี้เป็นการสื่อสารแบบทิศทางเดียว คือ ส่งได้ทิศทางเดียว ยกตัวอย่างเช่น การส่งเสียงตามสาย
-การสื่อสารสองทางเต็มรูปแบบ(Full Duplex System)หรือการสื่อสารสองทาง ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารพร้อมกันได้พร้อมๆกัน โต้ตอบกันได้ เช่น ระบบโทรศัพท์
-การสื่อสารสองทางครึ่งรูปแบบ(Half Duplex System) ปลายทางแต่ละด้านสามารถสื่อสารกันได้แต่ต้องสัลบกัน เช่น วิทยุสมัครเล่น
Protel99SE ตอนที่ 13 การเชื่อมสายสัญญาณ
การเชื่อมสายสัญญาณสามารถทำได้4วิธีดังนี้
1.กดปุ่ม P->W ตามลำดับ
2.คลิกที่ปุ่ม
3.คลิกขวาบนพื้นที่ทำงานแล้วเลือก Place Wire
4.ที่เมนูเลือกไปที่ Place->Wire
หลังจากนั้นเราก็นำ Wire ไปคลิกที่เชื่อมต่อจุดที่เราต้องการ
1.กดปุ่ม P->W ตามลำดับ
2.คลิกที่ปุ่ม
3.คลิกขวาบนพื้นที่ทำงานแล้วเลือก Place Wire
4.ที่เมนูเลือกไปที่ Place->Wire
หลังจากนั้นเราก็นำ Wire ไปคลิกที่เชื่อมต่อจุดที่เราต้องการ
Protel99SE ตอนที่ 12 จัดลำดับอุปกร์ทั้งหมดโดยอัตโนมัติ
เขียนโดย
kinggo
ที่
18:16
|
ในการเขียนวงจรอาจทำให้เกิด Errorขึ้น หากตัวอุปกรณ์ซ้ำกันได้ และอุปกรณ์อาจมีหลายตัวเราสามารถประหยัดเวลในการจัดลำดับอุปกร์ทั้งหมดโดยอัตโนมัติได้ดังนี้
1.จากรูปข้างบนจะมีอุปกรณ์ 2 ตัวที่มีชื่อเดียวกัน จากนั้นให้คลิกที่ Tools->Annotate
2.ที่ช่อง Annotate Option เลือก ? Past แล้วเลือกรูปแบบการจัดเรียงลำดับแล้วกด OK
3.โปรแกรมจะแสดงรายงานการเรียงลำดับขึ้นมาและตัวอุปกรณ์ของเราก็จะถูกเรียงลำดับโดยอัตโนมัติ
Protel99SE ตอนที่ 11 การคัดลอกอุปกรณ์
เขียนโดย
kinggo
ที่
09:11
|
การคัดลอกอุปกรณ์ในโปรแกรม Protel99SE สามารถทำได้ดังนี้
วิธีที่1
1.ลากเม้าส์คลุปอุปกรณ์ที่ต้องการคัดเลือกจนเป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีเหลือ
2.หลังจากนั้นคลิกที่เมนู Edit>Copy จนเป็นรูปกากบาทติดมากับเม้าส์
3.นำมาคลิกที่อุปกรณ์ที่ต้องการคัดลอกจนรูปกากบมนูาทหายแล้วคลิก Edit>Copy Psate อุปกรณ์ที่เราต้องการคัดลอกจะลอยติดกับเม้าส์เรามาแล้วนำมาบริเวณที่เราต้องการวาง
4.คลิกที่ปุ่ม กรอบสีเหลืองก็จะหายไป
วิธีที่2
1.กดคีย์ "shift"ค้างแล้วนำไปคลิกที่อุปกรณ์ที่เราเลือกจนเป็นกรอบสีเหลืองๆ
2.กดปุ่ม "Ctrl+C" จนเป็นรู)กากบาท
3.คลิกลงที่อุปกรณ์ที่เราต้องการคัดลอกอีกทีแล้วกด "Ctrl+P" อุปกรณ์ก็จะลอยติดกับเม้าส์เรามา ให้นำไปวางบริเวรที่เราต้องการ
4.กดปุ่ม E>E>A ตามลำดับเพื่อให้กรอบสีเหลืองหาย
Protel99SEตอนที่10 การกำหนดค่าให้ตัวอุปกรณ์
ดับเบิ้ลคลิกที่ตัวอุปกรณ์ หรือกดปุ่มคีย์ Tab เมื่ออุปกรณ์ลอยติดอยู่กับเม้าส์
-ช่อง Desingnator ให้ใส่ลำดับอุปกรณ์(ห้ามใส่ลำดับซ้ำกันในกรณีที่มีอุปกรณ์ 2 ตัวขึ้นไป)
-ช่อง Part Type ให้ใส่ค่าและเบอร์อุปกรณ์
นอกจาหนี้หน้าต่างนี้ยังแสดงค่าปกติและชื่อขาอุปกรณ์อีกด้วย
-ช่อง Desingnator ให้ใส่ลำดับอุปกรณ์(ห้ามใส่ลำดับซ้ำกันในกรณีที่มีอุปกรณ์ 2 ตัวขึ้นไป)
-ช่อง Part Type ให้ใส่ค่าและเบอร์อุปกรณ์
นอกจาหนี้หน้าต่างนี้ยังแสดงค่าปกติและชื่อขาอุปกรณ์อีกด้วย
protel99SEตอนที่9 การหมุนอุปกรณ์และการเปลี่ยนแกนอุปกรณ์
เขียนโดย
kinggo
ที่
19:21
|
การหมุนอุปกรณ์
การหมุนอุปกรณ์ก็สามารถทำได้ง่ายๆโดยการเอาเม้าส์ไปคลิกที่ตัวอุปกรณ์แล้วกดปุ้ม"Spacebar" หนึ่งครั้งจะหมุนได้ 90 องศา
การเปลี่ยนแกนอุปกรณ์
คลิกซ้ายที่อุปกรณ์ค้างแล้วทำ การกดคีย์ X เพื่อเปลี่ยนแกนในแนวนอน กดคีย์ Y เพื่อเปลี่ยนแกนในแนวตั้ง
การหมุนอุปกรณ์ก็สามารถทำได้ง่ายๆโดยการเอาเม้าส์ไปคลิกที่ตัวอุปกรณ์แล้วกดปุ้ม"Spacebar" หนึ่งครั้งจะหมุนได้ 90 องศา
การเปลี่ยนแกนอุปกรณ์
คลิกซ้ายที่อุปกรณ์ค้างแล้วทำ การกดคีย์ X เพื่อเปลี่ยนแกนในแนวนอน กดคีย์ Y เพื่อเปลี่ยนแกนในแนวตั้ง
protel99SEตอนที่8 การวางอุปกรณ์และ การลบอุปกรณ์
เขียนโดย
kinggo
ที่
19:19
|
การวางอุปกรณ์
หลังจากที่เราได้เลือกอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้เราคลิกปุ่ม Place อุปกรณ์ก็จะลอยติดกับเม้าส์ สามารถเอาไปวางบนพื้นที่ทำงานได้เลย
การลบอุปกรณ์
คลิกที่ตัวอุปกรณ์จนเป็นเส้นประแล้วกดปุ่ม "Delet" หรือคลิกที่อุปกรณ์รูปกรรไกรซึ่งคือคำสั่ง "Cut" แล้วนำมาคลิกที่ตัวอุปกรณ์ ก็จะทำการลบตัวอุปกรณ์ออกไป
Protel99SE ตอนที่7 การย่อขยายพื้นที่ทำงาน
การย่อขยายพื้นที่ทำงานจะทำให้เราสามารถมองเห็นอุปกรณ์ได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในโปรแกรม Protel99SE สามารถทำได้ง่ายมากๆ เพียงแค่เราเอาเมาส์ไปวางไว้ในพื้นที่ๆที่เราต้องการขยาย หากเราต้องการขยายพื้นที่ทำงานให้กดคีย์ pg up หากเราต้องการย่อพื้นที่ทำงานให้เรากดคีย์ pg dn นอกจากนี้เรายังสามารถดูอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่บนกระกาษได้โดยกดคีย์ Z,A
สอน Protel99sE ตอนที่6 การค้นหาอุปกรณ์อัตโนมัติ
ในการหาอุปกรณ์ต่างๆเราต้องเลื่อนแถบเพื่อหาทีละตัว แต่ไลบรารีมีจำนวนมากมายนัก ยากต่อการค้นหา แต่จะง่ายมากหากเรารู้จักชื่อของอุปกรณ์นั้นๆ จะได้ วันนี้เราจะมาค้นหาอุปกรณ์อัตโนมัติในโปรแกรม Protel99sE กันครับไม่ต้องเสียเวลาค้นหาทีละตัว มี2วิธี โดยมีขั้นตอนดังนี้
สอนการใ้ช้งาน Protel99SE ตอนที่5 การถอนไลบรารีออก
การออกแบบลายวงจรพิมพ์ด้วยโปรแกรม Protel99SE เมื่อตอนที่4 เราได้สอนการติดตั้งไลบรารีลงไปแล้วเมื่อเรารู้การติดตั้งไลบรารีเราก็ต้องรู้วิธีในการเอาไลบรารีออกด้วย ซึ่งไม่ยุ่งยากเลย
การใช้งาน Protel99SE ตอนที่4 การติดตั้งไลบรารีเพิ่ม
เขียนโดย
kinggo
ที่
05:58
|
มาถึงตอนที่4แล้วนะครับกับการใช้งาน Protel99SE เป็นอีกแนวทางหนึ่งของผู้ที่สนใจออกแบบลายวงจรพิมพ์ด้วยโปรแกรม Protel99SE
จากตอนที่3 ที่เราทำการเปิดโปรแกรมสร้างไฟล์ Schematic กันเป็นที่เรียนร้อยแล้วทางด้านซ้าย เราจะเห็นได้ว่าเรานั้นมีเพียงไลบราลีเดียว นั้นก็คือ
การใช้งาน Protel99 SE ตอนที่3 การสร้างไฟล์ Schematic
ตอนที่3 สำหรับการเรียนรู้การออกลายวงจรพิมพ์หรือPCB ด้วย Protel99SE กันแล้วนะครับ ซึ่งเราจะสอนการออกแบบลายวงจรพิมพ์ด้วย Protel99SE อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับว่ามันจะจบตอนไหน อิอิ ที่ผ่านมา เมื่อเราเทราบถึงองค์ประกอบต่างๆของโปรแกรม Protel99 SE ไปบ้างแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราจะมาสร้างไฟล์ Schematic กันครับสามารถทำได้ดังนี้ครับ
การใช้งาน Protel99 ตอนที่2 องค์ประกอบของไฟล์เอกสาร
เมื่อเราได้สร้างเอกสารขึ้นมาแล้วภายในนี้จะมีแท็บของ Wxample1.Ddb และมี icon อยู่ 3ไอคอน แต่ละ icon มีหน้าที่ดังนี้
-แท็บชื่อไฟล์ เป็นการแสดงชื่อไฟล์ต่างๆที่เราได้เข้าไปดู
-แท็บชื่อเรื่อง แสดงชื่อไฟล์และพื้นที่จัดเก็บไฟล์
-ปุ่มควบคุมไฟล์เอกสาร เป็นปุ่มที่ใช้ควบคุมไฟล์เอกสาร
-พื้นที่ว่าง เป็นพื้นที่สำหรับสร้างไฟล์เอกสารต่างๆ ใช้คำสั่งโดยการคลิกขวาตรงพื้นที่ว่าง
1.Design Team เป็นการกำหนดผู้ร่วมงานในโปรเจ็ค
2.Recycle Bin เป็นพื้นที่สำหรับไฟล์ที่เราได้ลบไป แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
3.Documents ใช้เก็บไฟล์เอกสารต่างๆที่เราได้สร้างขึ้นมา
การใช้งาน Protel99 ตอนที่1 เริ่มต้นการใช้งาน Protel99
Protel99 เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้สร้างวงจร Schematic และออกแบบลายวงจร PCB ที่หลายๆคนในปัจจุบันนิยมเลือกใช้การอย่างแพร่หลาย การเข้าสู่โปรแกรม Protel 99 สามารถทำได้โดยดับเบิ้ลคลิกที่ icon ของตัวโปรแกรม Protel99
-โปรแกรม Protel99 จะเก็บข้อมูลในการออกแบบไว้ที่ Design Database
-รูปแบบการจัดเก็บไฟล์จะมีสองรูปแบบคือ Ms Access Database เป็นการจัดเก็บไฟล์เอกสารแบบรวมไฟล์ ซึ่งมีนามสกุลเป็น .Ddb และ Windown File System เป็นการจัดเก็บไฟล์เอกสารแบบแยกไฟล์
-ก่อนอื่นเราต้องสร้าง Design Database ไว้เก็บไฟล์เอกสารต่างๆ ซึ่งสามารถทำได้โดยเลือกที่เมนู File>>New>>แล้วจะปรากฏไดอะล็อคซ์ New Design Database ขึ้นมา
คีย์ลัดพื้นฐานของซอฟต์แวร์ LTspice IV
-ให้เราเปิดโฟลเดอร์ว่างๆที่ File->New schematic จะได้โฟลเดอร์ว่างๆออกมา
-แล้วเลือกไปที่ Edit->Diode เพื่อเลืกไดโอดมาวางไว้บนพื้นที่ทำงาน เอาล่ะเราจะมาเริ่มทดลองใช้งานแบบคีย์ลัดโดยใช้อุปกรณ์ตัวนี้เป็นตัวทดลอง ซึ่งคำสั่งเหล่านี้จะอยู่ในเมนู Edit
มารู้จักกับโปรแกรมจำลองการทำงานของวงจรอิเล็คทรอนิกส์ LTspice IV
เขียนโดย
kinggo
ที่
05:35
|
LTspice IV เป็นโปรแกรมจำลองการทำงานของวงจรอิเล็คทรอนิกส์ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้กันฟรีๆ ซึ่งเป็นของ บริษัท ลิเนียร์เทคโนโลยี ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ประเภทไอซีออกสู่ท้องตลาดที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นไลบารีส่วนใหญ่ที่อยู่ในโปรแกรมนี้จะสนับสนุนอุปกรณ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ลิเนียร์เทคโนโลยี ซะเป็นส่วนใหญ่ แต่ตัวซอฟร์แวร์นี้ยังมีอุปกรณ์พื้นฐานทางอิเล็คทรอนิกส์มาให้เราครบ สามารถนำมาใช้งานพื้นฐานทั่วไปได้ในการสร้างวงจรง่ายๆ พร้อมทั้งจำลองการทำงานและแสดงผลออกมาในรูปแบบกราฟ สามารถอ่านค่าได้ง่าย เหมาะอย่างยิ่งในการทดลองและวิเคราะห์วงจรอิเล็คทรอนิกส์ได้เป็นอย่างดี สามารถ Doenlod LTspice IV ได้ที่ www.linear.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)